Skip to main content

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)

ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science (M.N.S.)

วัตถุประสงค์
ของหลักสูตร


1. 

พัฒนานวัตกรรมหรือทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหา/พัฒนาคุณภาพการพยาบาลด้านการใช้ยาระงับความรู้สึกที่ครอบคลุมระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัดของผู้รับบริการในทุกช่วงวัย

3. 

มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการเติบโตทางความคิด ยืดหยุ่น คิดอย่างมีวิจารณญาณ ประสานความร่วมมือ และทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพได้

2.

2. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อแสวงหาความรู้ในการแก้ปัญหา/ยกระดับคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกอย่างเป็นองค์รวม

4. 

มีความซื่อสัตย์สุจริตทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ และจรรยาบรรณนักวิจัย

ระบบการจัดการศึกษา

ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

การลงทะเบียนเรียน

นิสิตสามารถเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชา ประสบการณ์การเรียนรู้ ทั้งนี้เป็นไปจามข้อบังคับระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้อง ลงทะเบียนในรายวิชาวิทยานิพนธ์ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา หากลงทะเบียนเกิน 15 หน่วยกิต ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ และคณะกรรมการบริหารคณะพยาบาลศาสตร์ และได้รับอนุมัติจากคณบดี

วัน-เวลาในการดำเนิน การเรียนการสอน

จัดการศึกษาแบบผสมผสาน (ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่เกินร้อยละ 60)
ภาคต้น : สิงหาคม - ธันวาคม
ภาคปลาย : มกราคม - พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.50 จากระบบ 4 ระดับคะแนน

4.

ผ่านการอบรมในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิสัญญีพยาบาล ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ (หลักสูตร 1 ปี)

2.

มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยและคณะฯ กำหนด

5.

มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลระดับวิชาชีพในการให้ยาระงับความรู้สึกมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี

3.

เป็นผู้ได้ขึ้นทะเบียนและมีใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งหรือการ พยาบาลชั้นหนึ่งกับการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง

6.

มีคุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยและคณะพยาบาลศาสตร์ประกาศเป็นปีๆ ไป

ระยะเวลา
การศึกษา 2 ปี


โครงสร้างหลักสูตร แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

หมายเหตุ

นิสิตต้องเข้าร่วมโครงการเสริมสมรรถนะการทำวิทยานิพนธ์และสัมมนาวิทยานิพนธ์ (Fast track/Research camp project)

ระหว่างศึกษานิสิตต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มพูนประสบการณ์วิจัย (Research practicum) 90 ชั่วโมง โดยเข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือเข้าร่วมโครงการวิจัยและกิจกรรมวิจัยที่สอดคล้องกับโครงการวิทยานิพนธ์ของตนซึ่งจัดแยกเป็นรายภาคเรียน กิจกรรมการเพิ่มพูนประสบการณ์ระหว่างการศึกษาในหลักสูตรฯ โดยมีบันทึกกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์การวิจัย ให้ครบก่อนส่งวิทยานิพนธ์

นิสิตต้องเรียน Prerequisite เบื้องต้นตามประกาศของสาขาวิชาเกี่ยวกับการประกาศของคณะฯ โดยเรียนผ่านระบบออนไลน์ด้วยตนเอง ได้แก่ เรียนผ่าน Social Platform, CHULA MOOC หรือการลงทะเบียนเรียนวิชาระดับชั้นปริญญาตรี ของคณะ หรือการเทียบโอนหน่วยกิต เป็นต้น และให้นำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ก่อนอนุมัติเสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย

  • ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
  • นโยบายและระบบสุขภาพ กฎหมายและจริยธรรม
  • ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล

ติดต่อสอบถาม


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ติดต่องานวิชาการ 0-2218-1358 -9